มุมสมาชิก

คำถามที่พบบ่อย

หมวดการรายงานข้อมูลเครดิต

สินเชื่อสวัสดิการ คือ สินเชื่อที่สถาบันการเงินในฐานะนายจ้างให้กับพนักงานในฐานะลูกจ้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสวัสดิการ และได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำส่งข้อมูลเครดิต ให้แก่ NCB ซึ่งมีลักษณะดังนี้

  • ต้องเป็นวงเงินให้สินเชื่อที่จัดสรรไว้เป็นการเฉพาะแยกจากวงเงินสินเชื่อที่สถาบันการเงินจัดสรรไว้เพื่อประกอบธุรกิจหรือที่ให้แก่ลูกค้าทั่วไป และมีสิทธิประโยชน์ที่แตกต่าง จากวงเงินที่ให้สินเชื่อแก่ลูกค้าทั่วไป
  • มีข้อบังคับและระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการให้เงินกู้แก่พนักงานขององค์กร
  • กรณีมีบุคคลภายนอกเป็นผู้กู้ร่วมกับพนักงาน ให้ถือว่าสินเชื่อที่ให้กู้ร่วมแก่บุคคลภายนอกดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสินเชื่อสวัสดิการและไม่ต้องนำส่งข้อมูลเครดิต ให้แก่ NCB ด้วย

1. ก่อนยื่นขอรับชำระหนี้ สมาชิกสามารถนำส่งข้อมูลยอดหนี้คงเหลือได้ตามสิทธิเรียกร้อง

2. เมื่อยื่นขอรับชำระหนี้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้มีประกันหรือมิได้เป็นเจ้าหนี้มีประกัน ให้สมาชิกนำส่งข้อมูลยอดหนี้คงเหลือตามที่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ไว้ ตั้งแต่งวดเดือนที่ยื่นขอรับชำรหนี้ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งถึงที่สุดว่าให้รับชำระหนี้เป็นจำนวนเงินเท่าใด ให้สมาชิกนำส่งข้อมูลยอดหนี้คงเหลือด้วยจำนวนเงินดังกล่าว

3. กรณีเป็นเจ้าหนี้มีประกันที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ให้นำส่งยอดหนี้คงเหลือไปตามสิทธิเรียกร้อง แต่ถ้าสมาชิกมิได้เป็นเจ้าหนี้มีประกันและไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด สมาชิกต้องหยุดส่งข้อมูลทันที

หมายเหตุ : การนำส่งข้อมูลยอดหนี้คงเหลือตามที่กล่าวข้างต้นและอายุของข้อมูลที่ต้องนำส่ง จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 7 และข้อ 9 วรรคหนึ่ง ตามลำดับ ของประกาศ กคค. เรื่อง อายุข้อมูลในการประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต และการส่งข้อมูลของสมาชิก ลงวันที่ 5 กันยายน 2557

สินเชื่อ RM มีลักษณะแตกต่างจากสินเชื่อทั่วไป คือ เป็นการให้สินเชื่อแก่ผู้กู้ที่เป็นผู้สูงอายุโดยมีที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นกรรมสิทธิของผู้กู้และปลอดภาระหนี้เป็นหลักประกัน โดยเงินสินเชื่อที่ผู้จะได้รับอาจเป็นเงินก้อนหรือทยอยรับเป็นงวดจนกว่าผู้กู้จะเสียชีวิตหรือครบกำหนดอายุสัญญาสินเชื่อตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้ โดยผู้กู้ไม่ต้องชำระหรือไม่ต้องผ่อนชำระคืนและสามารถอาศัยอยู่ในบ้านที่เป็นหลักประกันดังกล่าวได้ไปจนกว่าผู้กู้จะเสียชีวิต ยกเว้นเป็นกรณีที่ทำผิดเงื่อนไขของสัญญาที่ผู้กู้จะต้องชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยหรือให้สถาบันการเงินบังคับหลักประกัน ทั้งนี้ หลังจากที่ผู้กู้เสียชีวิตตามเงื่อนไขของสัญญา หลักประกันจะตกเป็นของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินจะติดต่อกับทายาทตามที่ระบุไว้ในสัญญาเพื่อให้ใช้สิทธิชำระหนี้และซื้อคืนหลักประกันก่อนการบังคับหลักประกัน

การปฏิบัติในการทำธุรกรรม RM และการนำส่งข้อมูลเครดิตให้แก่ NCB ของสมาชิกอาจมีความแตกต่างกันในรายละเอียด ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ข้อตกลง และนโยบายทางธุรกิจของแต่ละสถาบันการเงิน

สมาชิกจะรายงานลูกหนี้ด้วยรหัสสถานะบัญชี 33 ต่อเมื่อสมาชิกมีการตัดหนี้สูญโดยไม่ติดใจในหนี้นั้นอีก โดยต้องเป็นกรณีที่ตัดสูญตัดใจแล้วจริงๆ คือไม่ประสงค์จะดำเนินการใดๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์จากหนี้นั้นอีกต่อไป เช่น การโอนขายหนี้ต่อไป โดยหากสมาชิกเพียงตัดหนี้สูญทางบัญชี แต่ยังติดใจในหนี้นั้นอยู่ เช่น ยังคงประสงค์จะติดตามทวงถามหนี้ หรือจะโอนขายหนี้ของลูกหนี้รายนี้ต่อไป ดังนี้ ให้สมาชิกรายงานข้อมูลลูกหนี้ด้วยรหัสสถานะบัญชีที่เป็นไปตามข้อเท็จจริง เช่น รหัสสถานะบัญชี 20 -มีหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน เป็นต้น

สินเชื่อ Floor Plan เป็นธุรกรรมที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนวงเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ประเภทผลิตภัณฑ์เพื่อซื้อสินค้าคงคลัง ไม่ว่าธุรกรรมเหล่านั้นจะได้จัดทำเป็นสัญญาในรูปแบบใดก็ตาม ให้ถือว่าเป็นสินเชื่อตามบทนิยามคำว่า “สินเชื่อ” ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 ดังนั้น สมาชิกจึงต้องนำส่งข้อมูลดังกล่าวแก่บริษัทข้อมูลเครดิตตามหนังสือซักซ้อมความเข้าใจที่ กคค.(ว) 175/2559 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจการปฏิบัติตามข้อ 8 ของประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต เรื่อง อายุข้อมูลในการประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตและการส่งข้อมูลของสมาชิก ลงวันที่ 5 กันยายน 2557

การรายงานของสมาชิกแบ่งได้เป็น ดังนี้

  • กรณีสมาชิกรับลูกหนี้กลับคืนภายใต้เงื่อนไขของสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ให้สมาชิกรายงานลูกหนี้บนบัญชีเดิมต่อไป
  • กรณีสมาชิกรับลูกหนี้กลับคืนโดยไม่เข้าเงื่อนไขแห่งสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ให้ถือเสมือนเป็นการซื้อลูกหนี้ใหม่ ดังนั้น สมาชิกจะรายงานข้อมูลบนบัญชีเดิมไม่ได้ ต้องไปรายงานลูกหนี้บนบัญชีใหม่

ไม่ใช่ สมาชิกจะสามารถรายงานสถานะบัญชีด้วยรหัส 30 ได้ต่อเมื่อได้ยื่นฟ้องลูกค้าต่อศาล และศาลได้ประทับรับฟ้องแล้ว ซึ่งไม่รวมการยื่นหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้ ดังนั้น หากสมาชิกได้ยื่นเพียงหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้ สมาชิกจะต้องรายงานสถานะบัญชีตามข้อเท็จจริงขณะนั้น เช่น เมื่อลูกค้าผิดนัดชำระหนี้เกิน 90 วัน จะต้องรายงานด้วยสถานะบัญชี 20 นอกจากนั้น หากในเวลาต่อมาสมาชิกถอนฟ้องลูกหนี้ด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม สมาชิกจะรายงานสถานะบัญชีลูกหนี้ด้วยรหัส 30 ต่อไปไม่ได้ ให้สมาชิกรายงานรหัสสถานะบัญชีตามข้อเท็จจริง

สมาชิกไม่ต้องนำส่งข้อมูลสินเชื่อสวัสดิการพนักงานหรือลูกจ้างของสมาชิกให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต และสมาชิกไม่สามารถสืบค้นข้อมูลเครดิตของพนักงานหรือลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สินเชื่อสวัสดิการพนักงานหรือลูกจ้างของสมาชิกได้แม้พนักงานหรือลูกจ้างจะให้ความยินยอมก็ตาม ซึ่งเป็นไปตามประกาศ กคค. เรื่อง อายุข้อมูลในการประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตและ การส่งข้อมูลของสมาชิก ลงวันที่ 5 กันยายน 2557 ข้อ 5 วรรคสอง ที่กำหนดว่าข้อมูลเครดิตไม่รวมถึงข้อมูลการให้สวัสดิการเงินกู้ยืมแก่พนักงานหรือลูกจ้างของสมาชิก

กรณีที่สมาชิกมีการทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกค้า สมาชิกมีหน้าที่ส่งข้อมูลให้บริษัทข้อมูลเครดิตตามประกาศ กคค. เรื่อง อายุข้อมูลในการประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตและการส่งข้อมูลของสมาชิก (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 13 มีนาคม 2563 โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก คำถามคำตอบแนบท้ายประกาศ

กรณีลูกหนี้เสียชีวิต สมาชิกยังต้องรายงานข้อมูลเครดิตของลูกหนี้ต่อไป เนื่องจากความตายไม่เป็นเหตุให้หนี้ระงับ อย่างไรก็ดี หากทายาทยินยอมเข้ามาชำระหนี้แทนลูกค้าผู้ตายต่อไป และสมาชิกได้มีการทำสัญญาเปลี่ยนตัวลูกหนี้แล้ว ให้สมาชิกรายงานข้อมูลเครดิตในหนี้นั้นในนามของทายาทต่อไป สำหรับการรายงานข้อมูลเครดิตของลูกค้าผู้ตาย ให้รายงานเป็นสถานะปิดบัญชี

กรณีที่สมาชิกมีลูกค้าเป็นบัญชีกู้ร่วม โดยผู้กู้ร่วมคนใดคนหนึ่งถูกเจ้าหนี้อื่นฟ้องและศาลได้สั่งให้ตกเป็นบุคคลล้มละลายแต่ผู้กู้อีกคนยังคงชำระหนี้ได้เป็นปกติ ให้สมาชิกนำส่งข้อมูลเครดิตของบัญชีกู้ร่วมโดยใช้หลักตามตัวบุคคล คือ ให้รายงานรหัสสถานะบัญชี 30 อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย สำหรับผู้กู้ร่วมที่ตกเป็นบุคคลล้มละลาย และรายงานด้วยรหัสสถานะบัญชี 10 ปกติ สำหรับผู้กู้ร่วมที่ชำระหนี้เป็นปกติ

หมวดการสืบค้นข้อมูลเครดิต

สมาชิกไม่สามารถสืบค้นข้อมูลของผู้ค้ำประกันเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สินเชื่อและการออกบัตรเครดิตแก่ลูกค้า แม้ผู้ค้ำประกันจะให้ความยินยอมก็ตาม รวมทั้งสมาชิกไม่ต้องส่งข้อมูลเครดิตของผู้ค้ำประกันแต่อย่างใด เนื่องจากพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 3 กำหนดว่าข้อมูลเครดิตหมายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าที่ขอสินเชื่อ และมาตรา 18 กำหนดให้สมาชิกส่งข้อมูลของลูกค้า เท่านั้น

หมวดการแจ้งลูกค้า

การมีหนังสือแจ้งการนำส่งข้อมูลเครดิตให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิตให้ลูกค้าทราบทั้งครั้งแรกและครั้งต่อ ๆ ไป นั้น สมาชิกจะต้องแจ้งไปยังที่อยู่ที่ลูกค้าแจ้งให้จัดส่งเอกสารตามที่ลูกค้าแจ้งไว้หรือตามที่ระบุในสัญญา และควรจัดทำทะเบียนการส่งหนังสือแจ้งลูกค้าดังกล่าวเก็บไว้เป็นหลักฐานในกรณีที่อาจมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นในอนาคตว่าลูกค้าไม่ได้รับหนังสือดังกล่าว

กรณีที่ลูกค้ามีที่อยู่ตามทะเบียนบ้านและที่อยู่ที่ติดต่อได้เป็นคนละแห่งกัน สมาชิกควรตกลงกับลูกค้าให้ชัดเจนว่าลูกค้าประสงค์จะให้จัดส่งหนังสือแจ้งไปยังที่ใด และควรตรวจสอบข้อสัญญาให้ระบุให้ตรงกันด้วย เพื่อป้องกันการจัดส่งผิดที่ซึ่งลูกค้าอาจยกขึ้นว่าเป็นการส่งโดยไม่ชอบได้ รวมทั้งกรณีที่ลูกค้าแจ้งขอเปลี่ยนแปลงที่อยู่ที่ให้จัดส่งเอกสาร ควรให้ลูกค้าแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือหรือหลักฐานอื่น ๆ และสมาชิกควรแก้ไขที่อยู่ให้เป็นที่อยู่ใหม่ตามที่ลูกค้าแจ้งโดยเร็ว และเก็บหนังสือที่ลูกค้าแจ้งเปลี่ยนแปลงไว้เป็นหลักฐานด้วย

หมวดเรื่องที่สมาชิกควรทราบ

ในกรณีที่ลูกค้าของสมาชิกซึ่งก็คือเจ้าของข้อมูล ใช้สิทธิตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 (พ.ร.บ.ข้อมูลเครดิต) ยื่นอุทธรณ์ ข้อโต้แย้งต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต (กคค.) หรือยื่นเรื่องร้องทุกข์ต่อธนาคารแห่งประเทศไทยจากการที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำ ของผู้ประกอบธุรกิจตามมาตรา 36 (1) แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลเครดิต จะมีขั้นตอนที่สมาชิกควรทราบและปฏิบัติ ดังนี้

  • สมาชิกจะได้รับหนังสือจากเลขานุการ กคค. ให้ชี้แจงข้อเท็จจริง ซึ่งสมาชิกจะต้องมีหนังสือตอบชี้แจงข้อเท็จจริง พร้อมทั้งจัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ กคค. ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ในหนังสือ หากไม่สามารถดำเนินการได้ทัน สมาชิกต้องมีหนังสือขอขยายเวลาพร้อมแจ้งเหตุผลความจำเป็นก่อนครบระยะเวลาดังกล่าว โดยจะ ขอขยายอีกเพียง 1 ครั้งไม่เกิน 15 วัน ทั้งนี้ ให้สมาชิกแจ้งชื่อพร้อมเบอร์โทรศัพท์ของผู้ที่จะสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วย
  • เลขานุการ กคค. จะมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้สมาชิกทราบและหรือให้สมาชิกดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไป ซึ่งสมาชิกต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัย ชี้ขาดนั้น ทั้งนี้ หากสมาชิกไม่ปฏิบัติตามมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 56 และมาตรา 58

กรณีลูกค้ามายื่นคำขอให้สมาชิกตรวจสอบและแก้ไขข้อมูล สมาชิกต้องพิจารณาคำขอและตรวจสอบข้อมูลโดยเร็ว และต้องแจ้งผลการตรวจสอบหรือแก้ไขข้อมูลพร้อมเหตุผลให้เจ้าของข้อมูลทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 ที่กำหนดให้เจ้าของข้อมูลสามารถใช้สิทธิตรวจสอบหรือขอแก้ไขข้อมูลของตนที่บริษัทข้อมูลเครดิตหรือที่สมาชิกก็ได้

นอกจากนี้ กรณีที่สมาชิกเห็นว่าข้อมูลไม่ถูกต้องไม่ว่าด้วยเหตุใด สมาชิกต้องแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องโดยเร็ว รวมทั้งต้องแจ้งข้อมูลที่แก้ไขให้แก่แหล่งข้อมูลสมาชิกหรือผู้ใช้บริการที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัทข้อมูลเครดิต เพื่อนำไปแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องต่อไปด้วย ทั้งนี้ หากสมาชิกไม่ปฏิบัติตามอาจต้องรับโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 55

ก่อนที่สมาชิกจะนำส่งข้อมูลเครดิตของลูกค้าให้บริษัทข้อมูลเครดิตทุกครั้ง สมาชิกควรตรวจสอบข้อมูลที่จะนำส่งให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามข้อเท็จจริงปัจจุบันแล้ว หรือในกรณีที่ลูกค้าใช้สิทธิขอตรวจสอบแก้ไขข้อมูล สมาชิกต้องให้ความสำคัญในการตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดโดยเร็ว ซึ่งหากสมาชิกพบว่าข้อมูลที่นำส่งบริษัทข้อมูลเครดิตไม่ถูกต้อง สมาชิกต้องแจ้งให้บริษัทข้อมูลเครดิตแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องเป็นปัจจุบันโดยเร็ว อันจะเป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรา 19 (2) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 ที่กำหนดให้สมาชิกมีหน้าที่ส่งข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยอยู่เสมอ ถ้ารู้ว่ามีความไม่ถูกต้องสมาชิกต้องแก้ไขและจัดส่งข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต